วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

การ กำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม อย่าง

 ๑.การวิเคราะห์หลักสูตร
 ๒. การวิเคราะห์ผู้เรียน
 ๓.การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย 
 ๔.การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน 
 ๕.การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ
 ๖.การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อ พัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ 
 ๗. การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและ การสอนของตน 

จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ  (ข้อสอบ ๒0 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้ 


 การวิเคราะห์หลักสูตร
ในการวิเคราะห์หลักสูตร  หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือแนวการจัดการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระนั้น คุณครูต้องนำมาตรฐาน ตัวชี้วัด  สาระแกนกลาง กรอบสาระท้องถิ่นของเขตพื้นที่  สมรรถนะที่สำคัญ  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์มาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา  โครงสร้างรายวิชา  การออกแบบหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ 
การวิเคราะห์ผู้เรียน    
          
  เป็น การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมี ความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดี ย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน เช่น การกำหนดลักษณะทั่วไป ซึ่งได้แก่  อายุ  ระดับความรู้  สังคม  เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน ถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของผู้เรียนจะไม่มี ความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนก็ตามแต่ก็เป็น สิ่งที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถตัดสินระดับของ เนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้  ส่วนลักษณะเฉพาะของผู้เรียนแต่ละคนนั้น นับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับ เนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอนและวิธีการที่จะนำมาใช้ในการสอน
 การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย 
 การ สอนโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ จะช่วยพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ (ลักษณะนิสัย) และทั้งด้าน
 การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน 
สื่อ การเรียนรู้ หรือ สื่อการเรียนการสอน เป็นตัวกลางให้ผู้สอนได้ถ่ายทอดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ความคิดเห็น และเจตคติ ไปสู่ผู้เรียน รวมทั้งการใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง สื่อการเรียนรู้ครอบคลุมทั้งวัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี และวิธีการ
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ
การวัดและประเมินผลเป็นส่วนสำคัญของการจัดการเรียนการสอน  การวัดและประเมินผลจึงต้องปรับเปลี่ยนไป ให้มีลักษณะเป็นการประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และประเมินผลตามสภาพจริงด้วย
การประเมินผลตามสภาพจริง เป็นการประเมินผลผู้เรียนรอบด้านตามสภาพจริงของผู้เรียน มีลักษณะสำคัญดังนี้
เน้นการประเมินที่ดำเนินการไปพร้อม ๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งสามารถทำได้ตลอดเวลา ทุกสภาพการณ์
  เน้นการประเมินที่ยึดพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนจริง ๆ
               เน้นการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียน
            ใช้ข้อมูลที่หลากหลาย ด้วยเครื่องมือที่หลากหลายและสอดคล้องกับวิธีการประเมิน ตลอดจนจุดประสงค์ในการประเมิน
              เน้นคุณภาพผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ ความสามารถหลายๆ ด้าน
                การประเมินด้านความคิด เน้นความคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์
 เน้นให้ผู้เรียนประเมินตนเอง และการมีส่วนร่วมในการประเมินของผู้เรียน ผู้ปกครอง และครู
 การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ 
   ก่อน นำไปใช้ ครูต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการประเมินตามสภาพจริง ที่สำคัญที่สุด คือ การศึกษาด้วยตนเองและลงมือปฏิบัติจริง พัฒนาความรู้จากการลงมือปฏิบัติ
    การ แนะนำให้ผู้เรียนจัดทำแฟ้มสะสมงาน แฟ้มสะสมงานของผู้เรียน นอกจากจะแสดงพัฒนาการของผู้เรียนแล้ว ยังเป็นการสะท้อนการสอนของครู เพื่อจะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
      หลักการเบื้องต้นของการจัดทำแฟ้มสะสมงาน
  ความสำคัญของแฟ้มสะสมงาน
       การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอน
            กล่าว โดยสรุปได้ว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นใน ชั้นเรียน โดยครูผู้สอนในชั้นเรียนนั้นๆ เป็นการดำเนินการที่มีการวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตผล และการสะท้อนกลับ ซึ่งเป็นการวิจัยที่ทำเร็ว นำผลไปใช้ได้ทันที นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับ ผู้เรียนอย่างแท้จริง
        การ นำเอาเทคโนโลยี เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน เป็นการเพิ่มพูน ประสิทธิภาพทางการเรียนผู้เรียน และในสภาพปัจจุบันการเรียนการสอนก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงสิ่งนี้ได้ ครูจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของตนเอง ต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น จึงต้องเรียนรู้เทคโนโลยีต่าง ๆ แล้ววิเคราะห์ความเป็นไปได้ ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ให้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน ที่มีความพร้อมในระดับหนึ่ง ครูควรต้องพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม และยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อนำพาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ ดำรงตนอยู่ได้อย่างมีความสุข


                                    

ยกตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หน่วยการเรียนรู้ที่  ๒  โคลงสุภาษิตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
แผนที่  ๓๔    คำราชาศัพท์ และคำสุภาพ จากเรื่อง โชคดีที่มีภาษาไทย    (ชั่วโมงที่ ๓)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒                                                              เวลา  ๑  ชั่วโมง
ใช้แผนวันที่........................................................................................................................
ผู้สอน : ..........................................................................................................

๑.      สาระสำคัญ
คำราชาศัพท์ หมายถึง คำพิเศษประเภทหนึ่งในภาษาไทย ตามประเพณีของไทย
 ใช้กับชนชั้นของบุคคล ซึ่งต้องใช้ให้เหมาะสมกับชนชั้นของบุคคล ไม่เฉพาะแต่กับพระราชาเท่านั้น บุคคลที่จะต้องใช้คำราชาศัพท์ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ชนิด ได้แก่ พระราชา, กษัตริย์,  เจ้านาย, พระบรมวงศานุวงศ์ ,  พระภิกษุสามเณร,  ข้าราชการ,  สุภาพชน  เพราะฉะนั้น นักเรียนจึงควรศึกษาคำที่ใช้กับกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ให้ได้ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

๒.    ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
นักเรียนสามารถใช้คำสุภาพในภาษาพูดและภาษาเขียนได้อย่างถูกต้อง และ
เหมาะสม

๓.     จุดประสงค์การเรียนรู้ 
๓.๑  นักเรียนบอกความหมายของคำสุภาพได้
๓.๒  นักเรียนบอกลักษณะของคำสุภาพได้
๓.๓  นักเรียนสามารถใช้คำสุภาพแทนคำที่ใช้ในภาษาปากได้อย่างเหมาะสมกับ
สถานการณ์และกาลเทศะ

๔.     เนื้อหาสาระ 
๔.๑  ความหมายของคำสุภาพ
๔.๒  ลักษณะของคำสุภาพ
๔.๓  ตัวอย่างคำสุภาพ
๔.๔  ใบความรู้ และแบบฝึกหัด เรื่อง คำสุภาพ

๕.    กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
     ครูเขียนคำเหล่านี้บนกระดานดำ  ให้นักเรียนอ่าน
                 ๑.  บ้านฉันเลี้ยงหมาพันธุ์ไทย                        (สุนัข)
                ๒.  แม่ผัดผักบุ้งไฟแดง                                     (ผักทอดยอด)
                ๓.  พี่นำผ้าห่มไปตากแดดทุกวัน                    (ผึ่งแดด)
                ๔.  คุณครูครับผมปวดหัวมากครับ                  (ศีรษะ)
                ๕.  สมชายขออนุญาตครูไปเยี่ยว                    (ปัสสาวะ)
แล้วให้นักเรียนหาคำสุภาพมาแทนคำที่พิมพ์ตัวหนา 
ขั้นสอน
-   ครูแจกใบความรู้เรื่อง  คำสุภาพ ให้นักเรียนศึกษา  ครูอธิบายความรู้โดยให้
นักเรียนดูใบความรู้ตามไปด้วย 
-  ให้นักเรียนจับคู่กันทายคำสุภาพ  จนเกิดความมั่นใจและจำคำสุภาพต่าง ๆ ได้
ทั้งหมด (ใช้เวลา ๑๕ นาที)
-  ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบ เรื่อง คำสุภาพ  เสร็จแล้วส่งกระดาษคำตอบที่
ครู
ขั้นสรุป
   ครูตรวจกระดาษคำตอบของนักเรียน  แล้วแจ้งผลการทำแบบทดสอบให้นักเรียน
ทราบ

๖.      สื่อ  /  แหล่งการเรียนรู้ 
๖.๑  ใบความรู้ เรื่อง คำสุภาพ
๖.๒  บัตรคำ  คำธรรมดา และคำสุภาพ  ๒๐ คู่
๖.๓  แบบทดสอบเรื่องคำสุภาพ

๗.    การวัดและการประเมินผล
วิธีวัดและประเมินผล
-  สังเกตการณ์ทำกิจกรรมจับกลุ่มคู่คิดของนักเรียน
-  การจับคู่คำสุภาพ และคำธรรมดา จากบัตรคำ
-  การตรวจกระดาษคำตอบ แบบทดสอบเรื่อง คำสุภาพ


เครื่องมือวัดและประเมินผล
-  บัตรคำ คำธรรมดาและคำสุภาพ ๒๐ คู่
- แบบทดสอบเรื่อง  คำสุภาพ

๘.    บันทึกหลังการสอน
.............................................................................................................................................................
๙.      เนื้อหาสาระ
              ............................................................................................................................................................. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น