วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประเมินการใช้เครื่องมือบล็อก

การประเมินการใช้บล็อกนี้ ให้นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้

1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
ตอบ มีความรวดเร็วและสะดวกในการส่งงาน  ขอแค่มีอินเตอร์เน็ตใช้  เพราะบางทีเวลาการทำงานในคาบเรียนอาจไม่เพียงพอเราก็สามารถกลับไปทำต่อได้  เวลาทำงานเสร็จก็จะได้ส่งเลยไม่ต้องรอส่งในคาบเรียนและไม่ต้องเขียนลงสมุด เป็นการประหยัดอย่างหนึ่ง
 
2. นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
ตอบ ในการสร้างบล็อกในรายวิชานี้ทำให้ได้รู้อะไรหลายๆอย่างเช่น วิธีการตกแต่งบล็อกให้สวยงาน น่าสนใจ  และวิธีการสร้างภาพสไลด์โชว์ในบล็อก วิธีการเก็บข้อมูลงานของเราลงในบล๊อก การเก็บข้อมูลลงในบล๊อกนั้นเราสามารถเรียกใช้งานเมื่อไรก็ได้แล้วแต่จะสะดวก และเป็นที่เก็บข้อมูลเรื่องราวที่ดีที่สุด

3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
ตอบ สำหรับดิฉันในการเรียนการสอนด้วยวิธีนี้ก็ถือว่าเป็นวิธีที่ดีและสะดวก รวดเร็วและเป็นวิธีการาสอนที่ทันสมัยแปลกใหม่ สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจการเรียนมากยิ่งขึ้นแต่สำหรับบางคนที่ไม่สะดวกที่เรียนด้วยวิธีนี้ก็อาจจะเป็นปัญหาต่อการเรียนของเขา เช่นผู้เรียนที่ไม่เครื่องอุปกรณ์ในการเรียน ดิฉันขอเสนอว่า หากว่าจัดสอนการใช้ Web blog ผู้สอนควรที่หาห้องเรียนที่มีคอมพิวเตอร์พร้อมที่จะรองรับนักศึกษาที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ ในการเรียนส่วนใหญ่ของรายวิชานี้
ควรมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องต่างๆในชั้นเรียนเพื่อที่จะให้นักศึกษาคุ้นเคย กับห้องเรียนมากกว่านี้

การสอบครั้งที่ ๒


ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
1. Classroom Management
การจัดการในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน การ สร้างวินัย ในชั้นเรียนตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูและการพัฒนาทักษะการสอน ของครูให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.HappinessClassroom
            หมายถึง การจัดห้องเรียนให้มีความสุข
3. Life-long Education
การ เรียนรู้ตลอด หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถจะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนา ตนเอง
4. formal Education
การ ศึกษาในระบบ  หมายถึง การศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
5. non-formal education
ศึกษา นอกระบบ หมายถึง การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็ก
6. E-learning
การ เรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม ก็ได้ ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศอาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนการสอนบนเว็บ การเรียนออนไลน์ การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ อาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจากวิดีทัศน์ ตามอัธยาศัย เป็นต้น
7. Graded
หมาย ถึง การเรียนแบบระดับชั้น เช่น ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลายปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก เป็นต้น
8. Policy education
     นโยบายการศึกษา คือ หลักการหรือกรอบความคิด แนวทางกลวิธีการดําเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั้น   
9. Vision
วิสัย ทัศน์ หมายถึง การสร้างภาพอนาคต หรือการมองอนาคตซึ่งจะเป็นเป้าหมายในการเดินไปสู่อนาคต โดยวิธีการนำเอาระบบการวางแผนมาใช้ หรือหมายถึงสิ่งที่อยากเห็นในอนาคตและเป็นสิ่งที่ดีกว่าเดิม
10. Mission
พันธกิจ หมายถึง หน้าที่โดยรวมของสถาบันการศึกษา เป็นการตอบคำถามที่ว่า สถาบันการศึกษาต้องการบรรลุอะไรเป็น พันธะสัญญาที่ต้องปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ เป็นจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถาบันการศึกษาและเป็นขอบข่าย การดำเนินงานของสถาบันการศึกษานั้น พันธกิจอาจกำหนดโดยผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือตลาดเป้าหมายที่สถาบันการศึกษาให้บริการ ความสามารถที่โดดเด่นของสถาบันการศึกษา หรือเทคโนโลยีที่สถาบันการศึกษาใช้
11. Goals
เป้า หมาย หมายถึง การกำหนดสิ่งที่ต้องการในอนาคต ซึ่งองค์การจะต้องพยายามให้เกิดขึ้น หรือหมายถึง เป็นการกำหนดภารกิจของธุรกิจในรูปของผลลัพธ์สำคัญที่ต้องการ เป้าหมายมีความเฉพาะเจาะจงน้อยกว่าวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์จะกำหนดขึ้น หลังจากกำหนดเป้าหมายแล้ว เป้าหมายเลิงกลยุทธ์จะช่วยผู้บริหารให้คิดเกี่ยวกับสิ่งซึ่งธุรกิจต้องบรรลุ ผลเป้าหมายโดยทั่วไปเป็นปรัชญาของจุดมุ่งหมาย
12. Objective
วัตถุ ประสงค์ หมายถึง เป้าหมายซึ่งต้องการให้กิจกรรมบรรลุผลหรือหมายถึงเป้าหมายระยะสั้นที่มี ลักษณะเจาะจง ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้
13. backward design
หมาย ถึง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและการ พัฒนาตน เองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูมืออาชีพการเรียนรู้และการทำงานของ ครูต้องไม่แยกจากกัน ครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้ของครูเกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับเพื่อนครู ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ แล้วนำความรู้เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตน การไตร่ตรอง ทบทวน พัฒนา ปรับปรุง เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครู ทำให้เกิดความเข้าใจผลของการลงมือปฏิบัติ แล้วนำผลการปฏิบัตินั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ต่อผู้อื่น
14. Effectiveness
ประสิทธิผล หมายถึง การปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้
15. Efficiency
ประสิทธิภาพ หมายถึง การปฏิบัติงานหรือบริการที่ถูกต้อง รวดเร็ว ใช้เทคนิคที่สะดวกสบายกว่าเดิม คุ้มค่า และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดในขณะที่ต้องการผลงานมากที่สุด
16. Economy
เศรษฐศาสตร์ หมายถึงการศึกษาถึงวิธีการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดมาใช้อย่างประหยัดหรืออย่างมีประสิทธิภาพ
17. Equity
 หมายถึง ความเสมอภาพ
18. Empowerment
หมาย ถึง การสร้างเสริมพลังการกระตุ้นเร้าให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในศักยภาพ ที่ ตนมี และดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่และเต็มใจ เพื่อปรับปรุงพัฒนาวิถีชีวิต วิถีการทำงาน ให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้จะมีความต่อเนื่องและยั่งยืน
19. Engagement
การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กรความหมายของ Engagement นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วย คือ ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กร รู้สึกดีกับองค์กร ก็เลยไม่อยากไปไหน แต่ก็ไม่สร้างผลงานใดๆ ที่ดีขึ้นด้วย
20. Project
โครงการ หมายถึง ข้อเสนอที่จะดำเนินงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้สำเร็จ โดยมีการตระเตรียม และวางแผนงานไว้ล่วงหน้า เป็นการจัดการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่ง ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
21. activies
หมายถึง การกระตือรือร้น เช่น การกระทำอย่างมีชีวิตชีวา

22. Leadership
ความ เป็นผู้นำ หมายถึง กระบวนการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือมากกว่า พยายามใช้อิทธิพลของตนหรือกลุ่มตนกระตุ้น ชี้นำ ผลักดัน ให้บุคคลอื่น หรือกลุ่ม บุคคลอื่น มีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ โดยมีความสำเร็จของกลุ่ม หรือองค์การเป็นเป้าหมาย
23. Leaders
  ผู้นำ หมายถึง  บุคคลที่มีความสามารถที่จะทำให้องค์การดำเนินไปอย่างก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมาย  โดยการใช้อิทธิพลเหนือทัศนคติและการกระทำของผู้อื่น
 24. Follows
ตาม เช่น เดินตาม, ติดตาม, เจริญรอยตาม, ตามอย่าง 
25. Situations
หมายถึง เรื่องราว เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
26. Self awareness
การ รู้จักตน หมายถึง การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนการรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง
27. Communication
การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดสารจากบุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ไปยังบุคคลหนึ่ง (ผู้รับสาร) โดยผ่านสื่อต่าง ๆ
28. Assertiveness
ความ กล้าแสดงออก หรือก้าวล้ำ หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกมาในเชิงสร้างสรรค์ เชิงบวก เพื่อความถูกต้อง เหมาะสม ให้เกียรติ ตามกาลเทศะ สุภาพเรียบร้อย มีปิยวาจา มีเมตตาธรรม โดยที่มีสิทธิปกป้องสิทธิของตน หากเขาไม่เห็นด้วย หรือคิดว่าในภายหลังจะต้องมารับผลที่ตามมา หากไปตกปากรับคำในสิ่งที่รู้แล้วว่าทำไม่ได้
29. Time management
การบริหารเวลา   หมายถึง การดำเนินงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัสดุ เป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานนั้น
30. PSDCORB
การบริหารงาน– Planning หมายถึง การวางแผน   O – Organizing หมายถึง การจัดองค์การ S – Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน  D – Directing หมายถึง การสั่งการ Co – Coordinating หมายถึง ความร่วมมือ R – Reporting หมายถึง การรายงาน  B – Budgeting หมายถึง งบประมาณ
31. Formal Leaders
ผู้ นำแบบเป็นทางการ หมายถึง ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน เพราะว่าผู้บังคับบัญชานั้นคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ ดำรงตำแหน่งหัวหน้า
32. Informal Leaders
ผู้ นำแบบไม่เป็นทางการ หมายถึง ผู้นำที่ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชา เพราะไม่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าในองค์การ แต่สมาชิกในหน่วยให้การยอมรับ และยกย่องให้เป็นผู้นำ เพราะเขามีคุณสมบัติบางประการที่หน่วยงานหรือสมาชิกในองค์การ ต้องการ ให้การยอมรับ หรือให้ความไว้วางใจ เช่น ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ มนุษย์สัมพันธ์ เป็นต้น
33. Environment
สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
34. Globalization
โลกาภิวัตน์มีความเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมประเพณีเดียวนั้น  หมายถึง  สภาวะโลกไร้พรมแดนได้ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารกัน จนเกิดแบบแผน และพัฒนาไปสู่การมีวัฒนธรรมร่วมกันระหว่างคนจากส่วนต่างๆของโลก
33. Competency
ความ สามารถเชิงสมรรถนะ หรือสมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะทั้งในด้านทักษะ ความรู้ และพฤติกรรม ของบุคคล ที่บุคคลแสดงออกในการปฏิบัติงาน ที่ทำให้การปฏิบัติงานนั้นประสบความสำเร็จ
34. Organization Cultural
วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์การ
35. Individual Behavior
พฤติกรรมบุคคล หมายถึง การกระทำหรือการแสดงออกของบุคคล เพื่อแสดงถึงสิ่งที่เขาอยากมี หรือ อยากเป็น ขึ้นอยู่กับสรีระและสิ่งแวดล้อม
36. Group Behavior
พฤติกรรมกลุ่ม หมายถึง เกิดจากการที่บุคคลตั้งแต่สองคนรวมกันเพื่อร่วมกำหนดเป้าหมายและเพื่อการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
37. Organization Behavior
หมายถึง แนวทางในการปฏิบัติของคนในองค์การซึ่งมาจากสิ่งที่คนนำเข้ามาในองค์การ ได้แก่ ความสามารถ ความคาดหวัง
38. Team working
การทำงานเป็นทีม หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีการประสานงานกัน ร่วมมือกัน สามัคคี มีเป้าหมายร่วมกัน และเชื่อใจกัน
39. Six Thinking Hats
หมวก หกใบหกสี หมายถึง แต่ละใบของหมวกคิดทั้งหกจะมีสีต่างกัน ขาว แดง ดำ เหลือง เขียว ฟ้า สีคือชื่อของหมวกแต่ละหมวก สีของแต่ละหมวกยังมีความสัมพันธ์กับการทำงานของมันด้วยสีขาว
สีขาวเป็นกลางไม่มีอคติ ไม่ลำเอียง หมวกขาวจะเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงและตัวเลข
สีแดง สีแดงแสดงถึงความโกรธ ความเดือดดาล และอารมณ์ สีแดงให้มุมมองทางด้านอารมณ์
สีดำ สีดำคือข้อควรระวัง และคำเตือน ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของความคิดนั้นๆ
สีเหลือง ให้ความรู้สึกในทางที่ดี หมวกสีเหลืองเป็นมุมมองในทางบวก รวมถึงความหวัง และคิดในแง่ดีด้วย
หมวกสีเขียว หมายถึงความคิดริเริ่ม และความคิดใหม่ๆ
สีฟ้า  หมายถึง  การควบคุม การจัดระบบ กระบวนการคิดและการใช้หมวกอื่นๆ
40. Classroom Action Research
หมาย ถึง รูปแบบของการวิจัยที่ครูกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถนำไปใช้เพื่อการศึกษา และการวิจัยในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของห้องเรียน จึงอาจกล่าวได้ว่า การวิจัยในชั้นเรียนเป็นวิธีการวิจัยที่ออกแบบ และพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้ครูสามารถค้นพบว่ามีอะไรเกิดขึ้นในห้องเรียนบ้าง และยังช่วยให้ครูทราบข้อมูลที่จะนำไปใช้เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนที่จะมี ขึ้นต่อไปในอนาคต โดยเลือกใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงบรรยาย หรือการวิจัยเชิงทดลอง อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นวิธีการศึกษา

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การสอบครั้งที่ ๑

คำสั่งให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบลงในบล็อกดังนี้

๑. Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
ตอบ การจัดการในชั้นเรียนในความเข้าใจของดิฉัน คือครูผู้สอนจะเป็นคนกำหนดว่าห้องเรียนนั้นจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับครูผู้สอน และครูจะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความเมตตาและเป็นมิตรกับนักเรียน และที่สำคัญ ครูจะต้องเข้ากับเด็กได้และรู้รายละเอียดที่สำคัญในตัวนักเรียนด้วย
        นอกจากนั้นการจัดการในชั้นเรียนครูควรให้ความสนใจเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน รู้ว่าเด็กที่เราสอนอยู่ในวัยและชอบอะไร เพื่อที่จะได้จัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของตัวผู้เรียน

๒. ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบมาตรฐาน วิชาชีพครูเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครูครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในการประกอบวิชาชีพ   มาตรฐาน วิชาชีพครู จะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิ ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู  คือ  มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  และมาตรฐานการปฏิบัติตน

๓. ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน

ตอบควร จัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่เรียนตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน   นอกจากนี้ห้องเรียนควรมีบรรยากาศสดใส สะอาด สว่าง ปลอดโปรงกว้างขวางเหมาะสมในการเรียน   ระเบียบ เรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน และควรมีการเรียนการเรียนการสอนแบบ ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

๔. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (๑)การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (๒)สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(๑) และข้อ (๒) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว

ตอบ ทางโรงเรียนต้องมีการจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียนเช่น การปลูกดอกไม้บริเวณโรงเรียนเพื่อดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจในการเรียน เมื่อมีบรรยายกาศที่ดีนักเรียนจะสนใจการเรียนมากยิ่งขึ้น มีสภาพอาคารเรียนที่ปลอดภัย สภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้นักเรียนมีสุขภาพ ทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูต้องมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นเช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน

๕. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู

ตอบ คุณภาพผู้เรียนตามทัศนะคติของดิฉันในฐานะอนาคตจะเป็นครูภาษาไทยดิฉันเข้าใจว่าคุณภาพของผู้เรียนคือประสิทธิภาพของผู้เรียนไม่ว่าจะอยู่ในระดับสูง ปานกลาง และต่ำ
          แม้ว่าเด็กไทยในปัจจุบันจะมีประสิทธิภาพในด้านการเขียนภาษาไทยค่อนข้างอยู่ในระดับที่เป็นห่วงแต่ผู้ที่เป็นครูก็พยายามช่วยเหลือเด็กเหล่านั้น เช่น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนชุมชนปากเสียว มีคุณภาพหรือประสิทธิภาพทางการเขียนที่น่าเป็นห่วงแต่ผู้ที่เป็นก็ได้สร้างแบบฝึกชุดพัฒนาการเขียนสำหรับเด็กเหล่านี้และมีการวัด ผลการเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึก ปรากฏว่าเด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นกว่า
         เชื่อว่าในอนาคตคนไทยจะต้องมี คุณภาพด้านการศึกษาที่มาจากพื้นฐานของระบบการศึกษา และสามารถก้าวข้ามปัญหา อุปสรรคต่างๆ ได้ และทุกอย่างจะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้นั้นทุกภาคส่วนต้องร่วมมือและมีส่วนร่วมในการปฏิรูประบบการศึกษาของไทยอย่างจริงจัง จึงจะทำให้สิ่งที่กำหนดไว้ในวันนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงได้ในระยะเวลาของการปฏิรูปการศึกษาของประเทศใน ทศวรรษที่สองอย่างแน่นอน.

๖. ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ

ตอบ การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่ผู้เรียนนั้น ผู้สอนต้องเป็นแบบอย่างที่ดีก่อน มีบุคคลิกที่เหมาะสม วางตนได้เหมาะสม เป็นตัวอย่างในด้านความประพฤติ มีเมตตา จริงใจ อบรมสั่งสอนกริยามรรยาท ดูแลความประพฤติของนักเรียน คอยช่วยเหลือแก้ไขเมื่อผู้เรียนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม

การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม มีหลักการในการพัฒนา โดยการปรับพฤติกรรม มีเทคนิคดังนี้
๑.การให้แรงเสริมทางบวก
๒.การให้ตัวแบบ
๓.การแต่งพฤติกรรม
๔.การชี้แนะ
๕.การลงโทษ
๖.การควบคุมตัวเอง
          โดยหลักการเหล่านี้ใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม เน้นสอนให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องราวที่เป็นสภาพการณ์ที่ขัดแย้งทางคุณธรรมจริยธรรม แล้วให้ผู้เรียนมีการเสนอ ให้ความคิด สำรวจหาเหตุผล และสรุปความเห็น โดยการการทำความกระจ่างในค่านิยม ช่วยให้ผู้เรียนค้นหา หรือทำความกระจ่างในค่านิยมที่ตนยึดถือ ช่วยทำความกระจ่างในค่านิยมของตนที่อาจจะขัดแย้งกับค่านิยมของสังคม โดยมีลำดับดังนี้

๑.เลือกค่านิยมโดยเสรี
๒.เลือกจากหลายๆ ค่านิยม
๓.เลือกโดยคำนึงถึงผลที่จะติดตามมา ทั้งด้านดีและไม่ดี
๔.พอใจ ยินดี ภูมิใจในค่านิยมที่ตนเองเลือกแล้ว
๕.ยึดมั่นในสิ่งที่ตนเองเลือกอย่างเปิดเผย
๖.ลงมือปฏิบัติในค่านิยมที่ตนเลือกแล้ว
๗.ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ จนเป็นลักษณะประจำตัวการสร้างกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามหลักพุทธศาสนา ซึ่งมีอยู่หลายวีธี เช่น
๑.สอนแบบบรรยาย
๒.สอนแบบไตรสิกขา
-ศีล ให้อยู่ในระเบียบวินัยทางกาย วาจา
-สมาธิ ให้รวบรวมจิตใจ ความคิดเป็นหนึ่งเดียว มีความแน่วแน่ ตัดสิ่งรบกวนออกจากการคิด
-ปัญญา ทำความเข้าใจปัญหา แก้ไขปัญหาจนเกิดความกระจ่างแจ้ง แก้ปัญหาได้ เกิดความรู้ เกิดปัญญา
๓.สอบแบบปุจฉา วิสัชชนา
๔.สอนแบบธรรมสากัจฉา สนทนาธรรม
๕.สอนแบบอริยสัจ๔ การสอนแบบอริยสัจ เป็นการสอนที่มีแนวเดียวกันกับแนวทางวิทยาศาสตร์
-กำหนดปัญหา พิจารณาปัญหา (ทุกข์)
-ตั้งสมมุติฐาน หาเหตุของปัญหา (สมุทัย)
-ทดลองเพื่อบรรลุการแก้ปัญหา (นิโรธ)
-วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปวิธีการก่อนนำไปใช้ (มรรค)





กิจกรรมที่14

การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping  สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร? ยกตัวอย่างประกอบ 
        จาก วิธีการจดบันทึกทั่วไปลงในกระดาษไปจนจบบรรทัดแล้วขึ้นบรรทัดใหม่ ก็ให้ใช้การวาดภาพแทนประโยคยาว ๆ โดยการถ่ายทอดความคิด หรือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมองลงในกระดาษ โดยการใช้ ภาพ สี เส้น และการโยงใยความรู้ที่มี  แทนการจดแบบเดิม
       แผนที่ความคิดหรือ Mind Mapping  จะช่วยให้เกิดความคิดได้กว้างขวาง หลากหลาย ช่วยความจำ ช่วยให้งานต่าง ๆ มีความสมบูรณ์ ความคิดต่าง ๆ ไม่ขาดหายไป
                          ตัวอย่างเช่น  นำมาใช้ในการเรียนการสอนของรายวิชาต่างๆ

วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร
       หมวก 6 ใบ เป็นเทคนิคการคิดอย่างมีระบบ  มีการจำแนกความคิดออกเป็นด้านๆ และคิดอย่างมีคุณภาพ เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนวคิดหลัก การคิดเป็น ทักษะช่วยดึงเอาความรู้และประสบการณ์ของผู้คิดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ทักษะความคิดจึงมีความสำคัญที่สุด
         การสอนแบบโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน  เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนอย่างลุ่มลึก  โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา  ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง  จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 13

คำถามที่ผมอยากให้ทุกคนร่วมกันคิด โดยเฉพาะผู้จะเป็นครู คือ

1. ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใดไม่เหมาะสมค่ะเช่น พฤติกรรมการบริโภคเพราะการบริโภคของมนุษย์ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจาก ในอดีตเนื่องจากในอดีตเป็นการบริโภคอาหารที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อความอยู่ รอดหรือประทังชีวิตไปเป็นการบริโภคแบบตามความชอบของตัวเองตามกำลังทรัพย์ หรือฐานะเพราะมีอาหารให้เลือกมากขึ้นมีโรงงานอุตสาหกรรมอาหารของประเทศใน ปัจจุบันมีการขยายตัวเพื่อนผลิตอาหารหารตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ส่วนทางด้านสุขภาพ ก็มีความไม่เหมาะสมบ้าง เช่น
            1.อาหาร
            2.หลีกเลี่ยงการออกแรง
            3.ขาดการออกกำลังกาย
            4.ความเครียด
            5.การควบคุมอารมณ์
            6.สิ่งแวดล้อมในการทำงาน
            7.สิ่งแวดล้อมที่บ้าน
            8.การพักผ่อน
2.ในปัจจุบันเด็ก ไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม คำถามว่า มีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออกกำลังกายไหม) มีน้อยมากค่ะ
3. เด็ก ไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้) มีน้อยค่ะ เพราะว่าเด็กไทยควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้แต่เราก็ควรบอกเขาว่าเขาควรพยายาม ปรับอารมณ์ไปในทางที่ดีรู้จักการยอมรับกับในสิ่งที่เกิดขึ้นการพัฒนา บุคลิกภาพมีค่ะเช่น
            1.มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสังคมได้ดี
            2. มีความสามารถในการทำงานที่อำนวยประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคมได้
            3. มีความรัก และความผูกพันต่อผู้อื่น
            4. มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาทางการแสดงออกของตนต่อผู้อื่นได้ดีขึ้น
4. ขณะ นี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กพอๆกับการ ส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
มีค่ะเพราะว่า สุขภาพจะต้องดีควบคู่ไปกับความรู้ทางวิชาการ 
5.ใเมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์ แรก ครูประจาชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด) ทำความรู้จักกับนักเรียนเรื่อยๆจนรู้จักนักเรียนหมดทุกคน
            1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
            2. การคัดกรองนักเรียน
            3. การส่งเสริมนักเรียน
            4. การป้องกันและแก้ไขปัญหา
            5. การส่งต่อ

6. ครู ประจำชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแลช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต (สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)เด็ก เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติ ดังนั้น เด็กจาเป็นต้องได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพตั้งแต่แรกเกิด การที่เด็กจะสามารถพัฒนาเด็กตามศักยภาพได้นั้น เด็กจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม หมายความว่า เด็กจะต้องได้รับการพัฒนาครบทุกด้าน ได้แก่ กาย ใจ จิต อารมณ์ สังคมสติปัญญาและจริยธรรมและเด็กยังมีสิทธิในการที่จะได้รับการปกป้องคุ้ม ครองเป็น สิทธิที่เด็กจะต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการถูกทาร้าย ทั้งทางร่างกาย จิตใจหรือทางเพศทางแรงงาน การทารุณ โหดร้าย มีส่วนร่วมในสงคราม ภาวะยากลาบาก และรวมไปถึงสิทธิในครอบครัว สิทธิในการมีชื่อและสัญชาติของตนเอง

7. โรงเรียน มีการพัฒนารายวิชา (วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา การควบคุมอารมณ์”) มีค่ะ เช่นการ
            1.การควบคุมตนเอง
            2. ความเห็นใจผู้อื่น
            3. ความรับผิดชอบ
            4. การมีแรงจูงใจ
            5. การตัดสินใจแก้ปัญหา
            6. สัมพันธภาพกับผู้อื่น
            7. ความภูมิใจในตนเอง
            8. ความพอใจในชีวิต
            9. ความสุขสงบทางใจ

 8. โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด มีมากค่ะ

9. โรงเรียน มีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ   มีค่ะเป็นส่วนมาก

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

การ กำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม อย่าง

 ๑.การวิเคราะห์หลักสูตร
 ๒. การวิเคราะห์ผู้เรียน
 ๓.การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย 
 ๔.การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน 
 ๕.การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ
 ๖.การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อ พัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ 
 ๗. การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและ การสอนของตน 

จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ  (ข้อสอบ ๒0 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้ 


 การวิเคราะห์หลักสูตร
ในการวิเคราะห์หลักสูตร  หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือแนวการจัดการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระนั้น คุณครูต้องนำมาตรฐาน ตัวชี้วัด  สาระแกนกลาง กรอบสาระท้องถิ่นของเขตพื้นที่  สมรรถนะที่สำคัญ  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์มาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา  โครงสร้างรายวิชา  การออกแบบหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ 
การวิเคราะห์ผู้เรียน    
          
  เป็น การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมี ความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดี ย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน เช่น การกำหนดลักษณะทั่วไป ซึ่งได้แก่  อายุ  ระดับความรู้  สังคม  เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน ถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของผู้เรียนจะไม่มี ความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนก็ตามแต่ก็เป็น สิ่งที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถตัดสินระดับของ เนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้  ส่วนลักษณะเฉพาะของผู้เรียนแต่ละคนนั้น นับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับ เนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอนและวิธีการที่จะนำมาใช้ในการสอน
 การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย 
 การ สอนโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ จะช่วยพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ (ลักษณะนิสัย) และทั้งด้าน
 การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน 
สื่อ การเรียนรู้ หรือ สื่อการเรียนการสอน เป็นตัวกลางให้ผู้สอนได้ถ่ายทอดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ความคิดเห็น และเจตคติ ไปสู่ผู้เรียน รวมทั้งการใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง สื่อการเรียนรู้ครอบคลุมทั้งวัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี และวิธีการ
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ
การวัดและประเมินผลเป็นส่วนสำคัญของการจัดการเรียนการสอน  การวัดและประเมินผลจึงต้องปรับเปลี่ยนไป ให้มีลักษณะเป็นการประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และประเมินผลตามสภาพจริงด้วย
การประเมินผลตามสภาพจริง เป็นการประเมินผลผู้เรียนรอบด้านตามสภาพจริงของผู้เรียน มีลักษณะสำคัญดังนี้
เน้นการประเมินที่ดำเนินการไปพร้อม ๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งสามารถทำได้ตลอดเวลา ทุกสภาพการณ์
  เน้นการประเมินที่ยึดพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนจริง ๆ
               เน้นการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียน
            ใช้ข้อมูลที่หลากหลาย ด้วยเครื่องมือที่หลากหลายและสอดคล้องกับวิธีการประเมิน ตลอดจนจุดประสงค์ในการประเมิน
              เน้นคุณภาพผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ ความสามารถหลายๆ ด้าน
                การประเมินด้านความคิด เน้นความคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์
 เน้นให้ผู้เรียนประเมินตนเอง และการมีส่วนร่วมในการประเมินของผู้เรียน ผู้ปกครอง และครู
 การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ 
   ก่อน นำไปใช้ ครูต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการประเมินตามสภาพจริง ที่สำคัญที่สุด คือ การศึกษาด้วยตนเองและลงมือปฏิบัติจริง พัฒนาความรู้จากการลงมือปฏิบัติ
    การ แนะนำให้ผู้เรียนจัดทำแฟ้มสะสมงาน แฟ้มสะสมงานของผู้เรียน นอกจากจะแสดงพัฒนาการของผู้เรียนแล้ว ยังเป็นการสะท้อนการสอนของครู เพื่อจะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
      หลักการเบื้องต้นของการจัดทำแฟ้มสะสมงาน
  ความสำคัญของแฟ้มสะสมงาน
       การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอน
            กล่าว โดยสรุปได้ว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นใน ชั้นเรียน โดยครูผู้สอนในชั้นเรียนนั้นๆ เป็นการดำเนินการที่มีการวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตผล และการสะท้อนกลับ ซึ่งเป็นการวิจัยที่ทำเร็ว นำผลไปใช้ได้ทันที นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับ ผู้เรียนอย่างแท้จริง
        การ นำเอาเทคโนโลยี เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน เป็นการเพิ่มพูน ประสิทธิภาพทางการเรียนผู้เรียน และในสภาพปัจจุบันการเรียนการสอนก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงสิ่งนี้ได้ ครูจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของตนเอง ต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น จึงต้องเรียนรู้เทคโนโลยีต่าง ๆ แล้ววิเคราะห์ความเป็นไปได้ ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ให้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน ที่มีความพร้อมในระดับหนึ่ง ครูควรต้องพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม และยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อนำพาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ ดำรงตนอยู่ได้อย่างมีความสุข


                                    

ยกตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หน่วยการเรียนรู้ที่  ๒  โคลงสุภาษิตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
แผนที่  ๓๔    คำราชาศัพท์ และคำสุภาพ จากเรื่อง โชคดีที่มีภาษาไทย    (ชั่วโมงที่ ๓)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒                                                              เวลา  ๑  ชั่วโมง
ใช้แผนวันที่........................................................................................................................
ผู้สอน : ..........................................................................................................

๑.      สาระสำคัญ
คำราชาศัพท์ หมายถึง คำพิเศษประเภทหนึ่งในภาษาไทย ตามประเพณีของไทย
 ใช้กับชนชั้นของบุคคล ซึ่งต้องใช้ให้เหมาะสมกับชนชั้นของบุคคล ไม่เฉพาะแต่กับพระราชาเท่านั้น บุคคลที่จะต้องใช้คำราชาศัพท์ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ชนิด ได้แก่ พระราชา, กษัตริย์,  เจ้านาย, พระบรมวงศานุวงศ์ ,  พระภิกษุสามเณร,  ข้าราชการ,  สุภาพชน  เพราะฉะนั้น นักเรียนจึงควรศึกษาคำที่ใช้กับกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ให้ได้ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

๒.    ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
นักเรียนสามารถใช้คำสุภาพในภาษาพูดและภาษาเขียนได้อย่างถูกต้อง และ
เหมาะสม

๓.     จุดประสงค์การเรียนรู้ 
๓.๑  นักเรียนบอกความหมายของคำสุภาพได้
๓.๒  นักเรียนบอกลักษณะของคำสุภาพได้
๓.๓  นักเรียนสามารถใช้คำสุภาพแทนคำที่ใช้ในภาษาปากได้อย่างเหมาะสมกับ
สถานการณ์และกาลเทศะ

๔.     เนื้อหาสาระ 
๔.๑  ความหมายของคำสุภาพ
๔.๒  ลักษณะของคำสุภาพ
๔.๓  ตัวอย่างคำสุภาพ
๔.๔  ใบความรู้ และแบบฝึกหัด เรื่อง คำสุภาพ

๕.    กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
     ครูเขียนคำเหล่านี้บนกระดานดำ  ให้นักเรียนอ่าน
                 ๑.  บ้านฉันเลี้ยงหมาพันธุ์ไทย                        (สุนัข)
                ๒.  แม่ผัดผักบุ้งไฟแดง                                     (ผักทอดยอด)
                ๓.  พี่นำผ้าห่มไปตากแดดทุกวัน                    (ผึ่งแดด)
                ๔.  คุณครูครับผมปวดหัวมากครับ                  (ศีรษะ)
                ๕.  สมชายขออนุญาตครูไปเยี่ยว                    (ปัสสาวะ)
แล้วให้นักเรียนหาคำสุภาพมาแทนคำที่พิมพ์ตัวหนา 
ขั้นสอน
-   ครูแจกใบความรู้เรื่อง  คำสุภาพ ให้นักเรียนศึกษา  ครูอธิบายความรู้โดยให้
นักเรียนดูใบความรู้ตามไปด้วย 
-  ให้นักเรียนจับคู่กันทายคำสุภาพ  จนเกิดความมั่นใจและจำคำสุภาพต่าง ๆ ได้
ทั้งหมด (ใช้เวลา ๑๕ นาที)
-  ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบ เรื่อง คำสุภาพ  เสร็จแล้วส่งกระดาษคำตอบที่
ครู
ขั้นสรุป
   ครูตรวจกระดาษคำตอบของนักเรียน  แล้วแจ้งผลการทำแบบทดสอบให้นักเรียน
ทราบ

๖.      สื่อ  /  แหล่งการเรียนรู้ 
๖.๑  ใบความรู้ เรื่อง คำสุภาพ
๖.๒  บัตรคำ  คำธรรมดา และคำสุภาพ  ๒๐ คู่
๖.๓  แบบทดสอบเรื่องคำสุภาพ

๗.    การวัดและการประเมินผล
วิธีวัดและประเมินผล
-  สังเกตการณ์ทำกิจกรรมจับกลุ่มคู่คิดของนักเรียน
-  การจับคู่คำสุภาพ และคำธรรมดา จากบัตรคำ
-  การตรวจกระดาษคำตอบ แบบทดสอบเรื่อง คำสุภาพ


เครื่องมือวัดและประเมินผล
-  บัตรคำ คำธรรมดาและคำสุภาพ ๒๐ คู่
- แบบทดสอบเรื่อง  คำสุภาพ

๘.    บันทึกหลังการสอน
.............................................................................................................................................................
๙.      เนื้อหาสาระ
              .............................................................................................................................................................